วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2558

                     


รายงานเรื่อง นิราศนรินทร์คำโคลง

เสนอ

อาจารย์ มาลัย  รอดประดิษฐ์

จัดทำโดย

คณะกลุ่มที่๔  ชั้นมัธยมศึษาปีที่๔/๔


โรงเรียนถาวรานุกูล
จังหวัดสมุทรสงคราม

บทที่4 นิราศนรินทร์คำโคลง

    นิราศนรินทร์เป็นบทประพันธ์ประเภทนิราศคำโคลงที่โด่งดังที่สุดในยุครัตนโกสินทร์ ทัดเทียมได้กับ"กำสรวลศรีปราชญ์ "และ"ทวาทศมาส"ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้แต่งคือ นายนรินทร์ธิเบศร์(อิน) แต่งขึ้นเมื่อคราวตามเสด็จ กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ไปทัพพม่าในสมัยรัชกาลที่สอง ไม่มีบันทึกถึงประวัติของผู้แต่งไว้ ทราบแต่ว่าเป็นข้าราชการ ตำแหน่ง มหาดเล็กหุ้มแพรในกรมพระราชวังบวรฯ และมีผลงานที่ปรากฏนอกจากนิราศเรื่องนี้ เป็นเพลงยาวอีกบทหนึ่งเท่านั้น แต่แม้จะมีผลงานเพียงน้อยนิด แต่ผลงานของกวีท่านนี้จัดว่าอยู่ในขั้นวรรณคดี และเป็นที่นิยมอ่านกันอย่างแพร่หลาย 
   เนื้อหาของ นิราศนรินทร์ก็ดำเนินตามแบบฉบับนิราศทั่วไป คือ มีการเดินทางและคร่ำครวญถึงการพลัดพรากจากนางอันเป็นที่รัก โดยได้รับอิทธิพลอย่าสูงจากกำสรวลศรีปราชญ์ 
(ซึ่งในสมัยนั้นถือว่าการเอาอย่างโบราณเป็นเรื่องดี) แต่นิราศนรินทร์มีจุดเด่นที่การใช้คำที่ไพเราะ รื่นหูข้อความกระชับลึกซึ้งและกินใจ จะถือว่าเป็นนิราศคำโคลงที่ไพเราะที่สุดก็ย่อมได้
    โคลงบทที่ 2 กรุงศรีอยุธยาล่มสลายไปจากการเสียกรุง แต่ก็มีเมืองล่องลอยมาจากสวรรค์อันมีพระที่นั่งสถูปแก้วอันสวย งามด้วยบุญบารมีที่สั่งสมของพระเจ้าแผ่นดินก็ได้ทำนุบำรุงศาสนาให้เจริญ รุ่งเรือง เปิดทางให้บ้านเมืองไปสู่ความดีงามและยังฟื้นเมืองให้ตื่นจากการหลับใหล หลังจากการเสียกรุง
    โคลง บทที่ 3 ความรุ่งเรืองของศาสนานั้นมีมากไปทั่วยิ่งกว่าแสงอาทิตย์ ผู้คนได้รับพระธรรมจากการฟังธรรมอยู่เป็น ประจำเจดีย์มากมายได้ถูกสร้างขึ้นสูงตระหง่านฟ้ายอดเจดีย์สวยงามยิ่งกว่าแสงนพเก้าเสมือนเป็นหลักแห่งโลกและเป็นที่มหัศจรรย์แห่งสรวงสวรรค์
    โคลงบทที่ 4 โบสถ์วิหารระเบียงธรรมาสน์และศาลาต่างๆนั้นกว้างใหญ่ขยายไปถึงสวรรค์หอพระไตรปิฎกเสียงระฆังในหอระฆังยามพลและแสงตะเกียงจากโคมแก้วอันมากมายนั้นสามารถทำให้แสงจันทร์สว่างน้อยลง อ่านเพิ่มเติม
บทที่3 นิทานเวตาล (เรื่องที่10)

          พระวิกรมาทิตย์หรือพระวิกรมเสน กษัตริย์ในตำนานของอินเดียโบราณ ได้รับปากกับโยคีชื่อ "ศานติศีล" จะไปนำตัวเวตาล อมนุษย์ที่มีลักษณะคล้ายศพมนุษย์ผสมค้างคาว ซึ่งห้อยหัวอยู่กับต้นอโศก มาให้แก่ฤๅษีเพื่อใช้ในพิธีบูชาเจ้าแม่กาลี โดยมีพระธรรมธวัชผู้เป็นโอรสติดตามไปด้วย เมื่อพระองค์จับตัวเวตาลได้แล้ว เวตาลก็จะพยายามยั่วให้พระวิกรมาทิตย์ตรัสออกมาอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่เสมอ โดยการการเล่านิทานอุทาหรณ์ต่างๆ แล้วให้พระวิกรมาทิตย์ตัดสินเรื่องราวในนิทานเหล่านั้น ด้วยขัตติยะมานะของกษัตริย์ทำให้พระวิกรมาทิตย์อดไม่ได้ที่จะตรัสพระราชวิจารณ์เกี่ยวเรื่องราวในนิทานอยู่เสมอ ผลก็คือเวตาลได้ลอยกลับไปอยู่ที่ต้นอโศกอันเป็นที่อยู่ของตน ทำให้พระวิกรมาทิตย์จำต้องกลับไปจับเอาเวตาลกลับมาใหม่ทุกครั้ง เป็นเช่นนี้อยู่ถึง 24 ครั้ง ในครั้งที่ 25 พระธรรมธวัชได้สะกิดเตือนมิให้พระวิกรมาทิตย์ตรัสคำใดๆ ออกมา พระวิกรมาทิตย์ก็ระงับใจไม่เอื้อนพระโอษฐ์ตรัสพระกระแสใดๆ ออกมา เวตาลจึงยอมให้พระองค์พาตนไปให้โยคีศานติศีลนั้นได้
บทที่2 อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง
 
ท้าวกะหมังกุหนิงปราศรัยกับระตูปาหยังและระตูประหมัน
ครั้นแล้วท้าวกะหมังกุหนิงเสด็จนั่งที่ประทับที่ประดับด้วยมณีทั้งหลาย พระองค์มองเห็นถึงพระอนุชาทั้ง ๒ คน จึงเรียกให้มานั่งที่ประทับพูดคุยกันอย่างสนุกสนาน ครั้นแล้วจึงความเป็นไปของบ้านเมือง และบอกถึงความประสงค์ของตนว่าที่เรียกอนุชาทั้ง 2 มาเพื่อจะให้ช่วยไปตีเมืองดาหาขอให้ทั้งสอง ช่วยตีเมืองให้ได้ชัยชนะเร็วไว เจ้าเมืองผู้น้องทั้งสองจึงได้รับสนองผู้เป็นพี่ ครั้งใดที่ท้าวกะหมังกุหนิงมีศึกเจ้าเมืองน้อยทั้งสองก็จะออกอาสาไม่ย่อท้อ ถึงตายก็ไม่เสียดายชีวิตจะสู้จนกว่ากำลังวังชาจะสูญสิ้นไป
เมื่อท้าวกะหมังกุหนิงได้ยินเจ้าเมืองผู้เป็นน้องทั้งสองตรัสมาดังนั้น ดีใจเป็นอย่างยิ่ง พระองค์รับสั่งกับอนุชาทั้งสองให้พาทัพทหารไปพักให้สำราญ แล้วให้อนุชาทั้งสองเข้ามาอยู่ในพระราชวัง และท้าวกะหมังกุหนิงก็ได้ลงองค์ลงมานั่งข้างๆกับเจ้าเมืองทั้งสอง พร้อมกับเล่าเรื่องราวต่างๆให้ฟังแล้วได้มอบสารให้เสนานำไปถวาย
เมื่ออนุชาทั้งสองได้ฟังถึงเรื่องราวทั้งหมดจึงได้คัดค้านไปว่าเมืองที่จะไปตีนั้น มีความเก่งกาจและชำนาญเรื่องการรบ อีกทั้งทางทหารในเมืองนั้นก็เก่งในเรื่องการรบ เลื่องลือในแคว้นชวาและต่างเกรงกลัวในฤทธิ์เดชเมืองเขาเป็นเมืองใหญ่เมือง เราเป็นเมืองน้อยเปรียบเหมือนหิ่งห้อยจะเปล่งแสงแข่งกับดวงอาทิตย์ ทั้งสองคิดว่าจะผิดจากเดิมมา ผู้หญิงงามไม่ได้มีคนเดียวในแผ่นดิน อ่านเพิ่มเติม
บทที่1คำนมัสการคุณานุคุณ  

คำนมัสการคุณานคุคำนมัสการคุณานุคุณ เป็นผลงานการประพันธ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อยอาจารยางกูร) มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกและสำนึกในคุณงามความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา และครูอาจารย์ โดยมีความมุ่งหมายให้ผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทย ยึดมั่นในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและนำแบบอย่างอันดีงามไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

ความเป็นมา

คำนมัสการคุณานุคุณที่คัดมาให้ศึกษามีเนื้อหาแบ่งออกเป็น ๕ ตอน แต่ละตอนมีที่มาจากคาถาภาษาบาลี ดังนี้

คำนมัสการพระพุทธคุณ : อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวาพุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ

พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองคำนมัสการพระธรรมคุณ :สวาก ขาโต ภะคะวะตา ธัมโมธัมมังนะมัสสามิ

คำนมัสการพระสังฆคุณ : สุปะฏิปปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆสังฆัง นะมามิ
คำนมัสการมาตาปิตุคุณ : มารดาทั้งสองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณอันหาที่สุดมิได้ ข้าพเจ้าขอไหว่เท้าทั้งสองของมารดาบิดาของข้าพเจ้าด้วยความเคารพอย่างสูง
คำนมัสการพระอาจริยคุณ : ครูอาจารย์ผู้ใหญ่และผู้น้อยทั้งหลายล้วนเป็นผู้มีพระคุณอันประเสริฐยิ่ง ได้อบรมสั่งสอนให้ศิษย์มีวิชาความรู้ ได้ให้โอวาทตักเตือนด้วยเมตตาธรรม ข้าพเจ้าขอกราบไว้คุณครูอาจารย์เหล่านั้นด้วยความเคารพ
ประวัติผู้แต่ง
          พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารกูร) เป็นนักปราชญ์คนสำคัญของไทยในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้รอบรู้ในวิชาภาษาไทยและได้ชื่อว่าเป็นข้าราชการที่จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ อ่านเพิ่มเติม